วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

วิธีการใช้งานเบื้องต้น



การใช้งานเบื้องต้น 






การจัดการเกี่ยวกับภาพ 








การ Import File เข้ามาใน Project เพื่อให้เป็นที่เก็บFileที่ต้องการนำมาใช้งานให้เป็นหมวดหมู่





1. ดูที่ช่อง Window docking area เข้า Project Media คลิกขวาที่ Media Bins เลือก Create New Bin





2. จะปรากฏ Folder จากนั้นทำการตั้งชื่อให้กับ Bin แล้วคลิก Enter ที่แป้นคีย์บอร์ด





3. คลิกที่ปุ่ม









4. คลิกเลือก Folder งานที่ต้องการตัดต่อที่จัดเก็บไว้ 5. เลือก File ที่ต้องการ

6. คลิก Open

7. File ที่ถูกเลือกจะเข้ามาอยู่ในหน้าต่างของ Media เราเรียกว่า Media File


การนำ Media File ขึ้นไปไว้บน Timeline เพื่อการตัดต่อแก้ไขเพิ่มเติมงานที่ทำโดยมีขั้นตอนดังนี้



1. คลิกลาก Media File ที่เราต้องการ แล้วลากขึ้นไปวางไว้บน Timeline

2. จะปรากฏภาพของ Media File ที่หน้าต่าง Monitor










การตัดEvent บน Timeline ด้วยเครื่องมือ Cut

1. คลิกลาก Selection ที่ Event ในช่วงเวลาที่ไม่ต้องการออกไป

2. คลิกที่ปุ่มตัด (รูปกรรไกร) ที่ Tool bar




3. ช่วงเวลาที่เราไม่ต้องการจะถูกตัดออกไปและจะเหลือช่องว่างเอาไว้

4. แต่ถ้าเราคลิกที่ปุ่มแทรก ไว้เมื่อทำการตัด Event ออกไปแล้ว ช่วงเวลาที่ถูกตัดออกไปจะไม่เว้นช่องว่างเอาไว้แต่จะถูกแทนที่ด้วยEvent ที่อยู่ถัดไป






การใช้ Function Event Pan/Crop

1. ตั้ง Folder ใน Bin ว่า pics แล้วนำภาพนิ่งที่เลือกมาไว้ในBin (ดูการ Import Files เข้ามาใน Projects –หัวข้อที่ 1)

2. เลือกภาพใน Bin ที่ต้องการแล้วลากไว้ในTrimmer

3. คลิกปุ่มสีเหลี่ยมใน Event จะปรากฏหน้าต่าง Event Pan/Crop ให้นำเมาส์ไปทางมุมมุมหนึ่งของ Object เมาส์จะเปลี่ยนเป็นหัวลูกศรเฉียง

4. คลิกเมาส์ลากเข้าไปก็จะเป็นการ Crop ภาพ เช่น ใบหน้า

5. ขั้นตอนการ Pan ภาพ

6. คลิกคีย์เฟรมที่ Keyframe Controllers ในส่วนของ Position

7.นำเมาส์ไปวางไว้ในส่วนของ Object เมาส์จะเป็นรูป เครื่องหมายลูกศร 4 ทิศ

8. คลิกเมาส์ลาก Object ไปยังตำแหน่งเริ่มต้นที่จะทำการ Pan ภาพ

9. คลิกวินาทีที่ 5 ในส่วนของ Position

10. คลิกเมาส์ลาก Object ไปยังตำแหน่งที่ 2 ของภาพ Pan

11. คลิกวินาทีที่ 10 ในส่วนของ Position

12. คลิกเมาส์ลาก Object ไปยังตำแหน่งที่ 3 ของการ Pan

13. จะเกิดคีย์เฟรมใหม่ขึ้นมา

14. คลิก Play เพื่อดูผลงานที่เกิดขึ้น


การยกเลิกการทำงานระหว่าง Event ภาพและเสียง

1.ที่ Tool bar คลิกปุ่ม




2. Event ภาพและเสียงจะแตกจากกัน และสามารถทำงานอิสระแยกจากกันได้





การจัดการเกี่ยวกับเสียง




การบันทึกและใส่เสียง

1. คลิกปุ่มลำโพงบน Task bar

2. เลือก Tap Options แล้วคลิกที่ Properties

3. เลือก line in (หรือ Front Mic)

4. กดเลือก Select ที่ line in (หรือ Front Mic)

5. คลิกปุ่มที่ Timeline เพื่อเตรียมพร้อมบันทึกเสียง




6. จะปรากฏหน้าต่าง Record Files ขึ้นมาแล้วคลิก Rename ตั้งชื่อตามต้องการ แล้ว คลิกที่ Done


การเลือกช่วงเสียงที่ต้องการเพื่อนำมาตัดต่อหรือปรับแต่ง

1. คลิกขวาที่ไฟล์เสียงเลือกคำสั่ง Open in Trimmer

2. คลิก Play

3. กดปุ่ม I ที่แป้นคีย์บอร์ดเพื่อเป็นการกำหนด Mark in

4. กดปุ่ม O ที่แป้นคีย์บอร์ดเพื่อเป็นการ Mark out

5. คลิก Stop

6. คลิกลาก File ที่อยู่ในแถบเสียงที่ต้องการลากไปไว้ใน Timeline





การจัดการเกี่ยวกับข้อความ



การสร้างข้อความ

1. ทำการเพิ่ม Video Track สำหรับวาง Event ข้อความก่อนโดยการคลิกขวาบริเวณพื้นที่ทำงานแล้วเลือก คำสั่ง Insert Video Track

2. คลิก Tap Media Generators (อยู่ด่านล่างช่อง Window docking area)

3. เลือก Text

4. เลือก Default Text ลากขึ้นไปวางบน Timeline

5. คลิกที่ปุ่ม Generated Media ที่อยู่ใน Event




6. จะปรากฏหน้าต่าง Video Event FX




7. จากนั้นเลือก Text

8. พิมพ์ข้อความที่ต้องการ

9. คลิก Tap Placement เพื่อจัดตำแหน่งให้ข้อความ

10. คลิก Tap Properties

11. เปลี่ยนสีของข้อความด้วยการคลิกบริเวณสีที่ต้องการในช่อง Text Color

12. กำหนดช่องไฟระหว่างตัวอักษรที่ Tracking

13. คลิกเมาส์เลือก Tap Effects

14. คลิกให้มีเครื่องหมายถูกที่ช่อง Draw Outline เพื่อใส่ขอบให้ข้อความและ Draw Shadow เพื่อใส่เงาให้ข้อความ

15. ดูผลที่ Monitor


การทำให้ข้อความมีการเคลื่อนไหว

1. คลิก Tap Properties

2. สังเกตที่ Keyframe Controller โดยโปรแกรมมีมาให้แล้ว 1 จุด จากนั้นคลิดเลือกคีย์เฟรมแรก

3. นำเมาส์ย้ายข้อความไปยังจุดที่เราต้องการเริ่มต้น อาจเป็นมุมบนซ้ายมือโดยไม่ควรเลย Safe Zone

4. คลิกเลือกช่วงเวลาที่เราต้องการให้มีข้อความตรงตำแหน่ง Keyframe Controllers ให้คลิกที่วินาทีที่ 5

5.นำเมาส์ไปคลิกลากย้ายข้อความลงมายังตำแหน่งด้านล่างที่ช่อง Text Placement

6. ที่ Keyframe Controllers จะปรากฏคีย์เฟรมขึ้นมา 1 จุด

7. คลิกขวาที่คีย์เฟรมใหม่ เลือกคำสั่ง Slow การเคลื่อนไหวให้คีย์เฟรม

8. Play ดูผลงานที่ Monitor




การเพิ่มระยะเวลาในการแสดงผลของข้อความ

โดยปกติแล้วโปรแกรมจะแสดงผลให้กับ Event ที่มาจากหน้าต่าง Media Generated ที่ 10 วินาที แต่ถ้าเราต้องการยืดเวลาในการแสดงผลเพื่อให้เหมาะสมกับงานที่เราทำ สามารถยืดได้ดังนี้

1. คลิกที่ปุ่มที่อยู่ใน Event




2. จะเข้าหน้าต่าง Video Event FX length พิมพ์ระยะเวลาที่ต้องการ เช่น จาก 10.00 เป็น 20.00 แล้ว Enter คีย์บอร์ด




3. ที่ Timeline ให้นำเมาส์ไปวางที่ขอบด้านบนของ Event ข้อความเมาส์จะเป็นรูปลูกศรซ้ายขวา ให้คลิกลากขอบEvent ออกมาจนสุด โดยดูจากสามเหลี่ยมเล็กด้านบน ถ้าพบหมายถึงเรายืดเกินเวลาที่เรากำหนด หากยืดเกินเวลาที่กำหนดข้อความจะเล่นวน Loop ของ Event นั้นๆ




ที่มา : https://sites.google.com/a/hy.ac.th/kar-tad-tx-widixo-dwy-sony-vegas/withi-kar-chi-ngan-beuxng-tn

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบทดสอบ

แบบทดสอบ